Wednesday, October 3, 2012

พระคาถาพารวย

 คัดลอกจากหนังสือธรรมทานของเลี่ยงเชียงจงเจริญ


พระคาถาเงินล้าน

(ตั้งนะโม ๓ จบ)

นาสังสีโม

พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)

พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุเม (คาถาเงินแสน)

มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุเม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)

มิเตพาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)

พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)

สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)

เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ

(บูชา ๙ จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด)

ผู้หมั่นภาวนาก่อนที่จะทำบุญให้ทานใด ๆ หรือสวดก่อนที่จะเข้านอนเสมอ ๆ มิได้ขาด ท่านว่าจักเป็นบุญบันดาลอันประเสริฐเลิศล้ำด้วยลาภผลเป็นเศรษฐีมิต้องยากจนแล

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ) เมตตามอบให้
 
 

พระคาถามหาลาภ

       นะมามีมา มะหาลาภา อิติพุทธัสสะ สุวัณณังวา ระชะตังวา มะณีวา ธะนังวา พีชังวา อัตถังวา ปัตถังวา เอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติมีมา นะมามิหัง.

ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ จะบังเกิดโภคทรัพย์อย่างมหัศจรรย์

  

พระคาถาค้าขายของดี

     พุทธัง                     พะหุชะนานัง
เอหิจิตตัง                     เอหิมะนุสสานัง
เอหิลาภัง                      เอหิเมตตา
ชมภูทีเป                      มะนุสสานัง
อิตถิโย ปุริโส จิตตัง พันธังเอหิ 

พ่อค้าแม่ค้าพาณิชย์นิยมเสกเป่า ๓ จบ ๗ จบ ทำน้ำมนต์ล้างหน้าและประพรมสินค้าขายของดีนักแล (อธิษฐาน และใส่บาตรทุกวันตามศรัทธาจะบังเกิดโชคลาภ)

  

คาถาเรียกเงิน
ของ หลวงพ่อคูณ

พุทธังโหม ธัมมังโหม สังฆังล้อม อันตะรายาวินาศสันติ
(ภาวนาทุกวันดีนักแล)
 


คาถาเจริญโภคทรัพย์

นิจจัง กาลัง ปิยัง โหติ เทวะตาปิ นิปัตเตยยัง มะหาเตชัง มะหาตะปัง พะเล เนเน เตเช ชะยะตุ ชะยะมังคะลังฯ

 

Tuesday, October 2, 2012

โพชฌังคปริตร (ตอนที่ 1)



หนังสือที่นำมาคัดลอกเล่มนี้เป็นหนังสือที่ระลึกแจกในงานฌาปนกิจศพของคุณแม่เตือนใจ รื่นกลิ่นจันทร์ เป็นคุณแม่ของเพื่อน  สร้างสรรค์โดย สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เป็น บทสวดมนต์ที่ทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจเหมือนพระพุทธเจ้าเสด็จมาเยี่ยมไข้  จึงนำมาเผยแพร่ต่อ  
วิธีสวดโพชฌังคปริตร
พุทธฤทธิ์ พิชิตโรค

การสวดมนต์ให้เกิดอานุภาพรักษาความเจ็บไข้อาจทำได้ 2 วิธี คือ ผู้ป่วยสวดด้วยตนเอง หรือ ให้ผู้อื่นสวดให้ฟัง โดยสามารถสวดได้ทุกที่ไม่จำกัด  ขอเพียงแต่มีความตั้งใจที่จะสวด เนื่องจากคำสวดเป็นบาลีอาจสวดผิด-ถูกบ้างก็ไม่เป็นไร  สวดบ่อยเข้าจะชินไปเอง จะสวดคำแปลด้วยหรือไม่สวดก็ได้  แต่ควรอ่านคำแปลเพื่อจะได้รู้ความหมายของบทสวด  ทำให้เกิดความศรัทธามากขึ้น  และการสวดไม่ใช่การบ่นในใจ จึงควรสวดออกเสียงให้ดังพอประมาณและไม่เร็วเกินไป  โดยสวดตามลำดับดังนี้

1. บทกราบพระรัตนตรัย
2. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
3. บทไตรสรณคมน์
4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
6. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
7. บทโพชฌังคปริตร 
8. บทสัพพมงคลคาถา
9. ทำสมาธิ
10. บทแผ่เมตตาแก่ตัวเอง
11. บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
12. บทแผ่กุศล
13. บทอธิษฐานจิต


คำขยายความของแต่ละบท

.       บทกราบพระรัตนตรัย  บทนี้ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งขึ้นเพื่อให้มีคำสำหรับไว้พระครบทั้ง ๓ รัตนะ  ผู้กราบไหว้พระรัตนตรัยเป็นประจำทำให้มีจิตใจโน้มเอียงไปในการทำความดีอยู่เสมอ  จึงเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์

.       บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า บทนี้ สวดเพื่อแสดงความนอบน้อมเคารพพระคุณของพรุพุทธเจ้า ๓ ประการ คือพระกรุณาคุณ (ภะคะวะโต) พระบริสุทธิคุณ (อะระหะโต) พระปัญญาคุณ (สัมมาสัมพุทธัสสะ) เป็นเสมือนบทไหว้ครู  ก่อนสวดมนต์  หรือการประกอบพิธีกรรมใดในพระพุทธศาสนาต้องสวดบทนอบน้อมพระพุทธเจ้าทุกครั้ง

.       บทไตรสรณคมน์  บทนี้สวดเพื่อปฎิญาณตนรับเอาพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง  หรือเป็นผู้นำในชีวิต  คือ ยอมมอบกายถวายชีวิตอยู่ภายใต้การนำของพระรัตนตรัย  ในที่นี้จะแตกต่างจากการสวดโดยทั่วไป  เพราะมีความนิยมว่า  หากสวดให้ผู้ป่วยฟัง  หรือสวดสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาให้เพิ่มคำสวดว่า "ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง"  แปลว่า ตราบถึงพระนิพพาน

.       บทสรรเสริญพระพุทธคุณ  บทนี้เป็นการสวดสรรเสริญพระคุณ ๙ ประการ ของพระพุทธเจ้า คือ 1) อะระหัง, 2) สัมมาสัมพุทโธ, 3) วิชชาจะระณะสัมปันโน, 4) สุคะโต, 5) โลกะวิทู, 6) อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, 7) สัตถา เทวะมะนุสสานัง, 8) พุทโธ, 9) ภะคะวาติ

.       บทสรรเสริญพระธรรมคุณ บทนี้เป็นการสวดสรรเสริญคุณ ๖ ประการของพระธรรม ดังนี้  1) สวากขาโต ภะคะวะโต ธัมโม, 2) สันทิฏฐิโก,  3) อะกาลิโก,  4) เอหิปัสสิโก, 5) โอปะนะยิโก, 6)ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. (อ่านว่า วิน-ยู-ฮี-ติ แปลว่า ผู้รู้) 

.       บทสรรเสริญพระสังฆคุณ  บทนี้ เป็นการสวดสรรเสริญคุณ ๙ ประการ ดังนี้ 1) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,  2) อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,  3) ญายะปฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,  4) สามีจิะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,   ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 5) อาหุเนยโย, 6) ปาหุเนยโย, 7) ทักขิเณยโย,  8) อัญชลีกะระณีโย, 9) อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

.       บทโพชฌังคปริตร  (อ่านว่า โพด-ชัง-คะ-ปะ-ริด) โพชฺฌงฺค เป็นคำบาลี  ภาษาไทยอ่านว่า โพชฌงค์ แปลว่า องค์แห่งการตรัสรู้มี 7 ประการ 1) สติ, 2) ธัมมวิจยะ, 3) วิริยะ, 4) ปีติ, 5) ปัสสัทธิ, 6) สมาธิ และ 7) อุเบกขา

.       บทสัพพมงคลคาถา (อ่านว่า สับ-พะ-มง-คน-คา-ถา) หมายถึงคำสวดที่ถือว่าจะนำความสุขความเจริญมาสู่ตน  และป้องกันสิ่งร้ายไม่ให้กล้ำกราย

.       ทำสมาธิ 

๑๐.     บทแผ่เมตตาแก่ตัวเอง

๑๑.     บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

๑๒.     บทแผ่ส่วนกุศล

๑๓.     บทอธิษฐานจิต

โพชฌังคปริตร (ตอนที่ 2) - บทสวด 1-6 พร้อมคำแปล


1.  บทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า  เป็นพระอรหันต์,
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;

พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ.   
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, 
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.  (กราบ)

ส๎วากขาโต  ภะคะวะตา ธัมโม,  
พระธรรม  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,  ตรัสไว้ดีแล้ว;

ธัมมัง นะมัสสามิ. 
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,  ปฎิบัติดีแล้ว;

สังฆัง  นะมามิ. 
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)

 

พยัญชนะที่มีเครื่องหมายยามักการ ( ๎) ให้อ่านออกเสียง อะ กึ่งมาตรา (อ่านออกเสียง อะ ครึ่งเสียง ควบกับพยัญชนะหลัง และว่าเร็วขึ้น) ทุกแห่ง เช่น ส๎วากขาโต อ่านว่า สะหวาก-ขา-โต

 
2. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า

(สวด 3 จบ)

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต, 
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์นั้น;

อะระหะโต,   
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส;

สัมมาสัมพุทธัสสะ.    
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

 
3. บทไตรสรณคมน์

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์  เป็นที่พึ่งตราบถึงพระนิพพาน;

ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
แม้ครั้งที่ 2  ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบถึงพระนิพพาน;

ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบถึงพระนิพพาน.
 

4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ

อิติปิ โส  ภะคะวา, 
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น;

อะระหัง, 
เป็นผู้ไกลจากกิเลส;

สัมมาสัมพุทโธ, 
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;

วิชชาจะระณะสัมปันโน, 
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ;

สุคะโต, 
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี;

โลกะวิทู, 
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง;

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, 
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้  อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า;

สัตถา เทวะมะนุสสานัง, 
เป็นครูผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย;

พุทโธ, 
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม;

ภะคะวาติ, 
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์.
 
5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 
พระธรรม  เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสไว้ดีแล้ว;

สันทิฏฐิโก, 
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง;

อะกาลิโก, 
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า  ท่านจงมาดูเถิด;

โอปะนะยิโก, 
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. 
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
 

วิญญูหีติ อ่านว่า วิน-ยู-ฮี-ติ แปลว่า ผู้รู้

 
6. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว;

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,  
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว;

ญายะปฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด,   ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว;

สามีจิะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,  
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว;

ยะทิทัง,  
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,  
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่  นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ;

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,  
นั้นแหละ  สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า;

อาหุเนยโย*,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา;

ปาหุเนยโย*,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ;

ทักขิเณยโย*,  
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน;

อัญชลีกะระณีโย,  
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี;

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.  
เป็นเนื้อบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
 

* อ่านว่า ไน-โย

โพชฌังคปริตร (ตอนที่ 3) - บทสวด 7-8 พร้อมคำแปล




7. โพชฌังคปริตร*

    โพชฌังโค สะติสังขาโต,
โพชฌงค์   กล่าว คือ สติ;
ธัมมานัง วิจะโย ตะถา,
ธัมมวิจยะ;
วิริยัมปีติปัสสัทธิ-
วิริยะ ปีติ ปัสสิทธิ;
โพชฌังคา  จะ ตะถาปะเร,
และโพชฌงค์อื่นอีก ๒:-
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา,
คือสมาธิและอุเบกขา;
สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา,
ธรรม ๗ ประการนี้ อันพระมุนี ทรงเห็นทั่ว ตรัสไว้ชอบแล้ว;
ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ทรงบำเพ็ญ กระทำให้มากแล้ว;
สังวัตตันติ อภิญญายะ,
ย่อมเป็นไป เพื่ออภิญญา;
นิพพานายะ จะ โพธิยา,
เพื่อพระนิพพาน  และโพธิญาณ;
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ* เม โหตุสัพพะทา.
ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.
    เอกัส๎มิง* สะมะเย นาโถ,
สมัยหนึ่ง พระโลกนาถ*;
โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิตา ทิส๎วา*,
ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระกัสสปะ อาพาธ เป็นทุกข์;
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ,
จึงแสดงโพชฌงค์ ๗ ให้ฟัง;
เต จะ ตัง อะภินันทิต๎วา*,
พระเถระทั้ง ๒ ยินดีพุทธภาษิตนั้น;
โรคา มุจจิงสุง ตังขะเณ,
โรคทั้งหลาย ก็สงบ ในขณะนั้น;
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.
ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.
    เอกะทา ธัมมะราชาปิ,
คราวหนึ่ง องค์พระธรรมราชา* เอง;
เคลัญเญนาภิปีฬิโต*,
ทรงพระประชวรไข้;
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปต๎วานะ* สาทะรัง,
รับสั่งให้พระจุนทเถระกล่าวโพชฌงค์ ๗ นั้นถวายโดยเคารพ;
สัมโมทิต๎วา* จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส,
ทรงบันเทิง  พระหฤทัย  หายจากพระประชวร  โดยจริงแท้;
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.
ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.
    ปะหีนา* เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง,
ก็ อาพาธเหล่านั้น อันมหาฤษี* ทั้ง ๓ ละได้แล้ว ไม่กลับเป็นอีก;
มัคคาหะตะกิเลสา วะ,
ดุจกิเลสที่อริยมรรคกำจัดแล้ว;
ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง,
ถึงความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา;
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.
ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.

 

เม คือสวดให้ตนเอง  ถ้าสวดให้คนอื่นฟังเปลี่ยนเป็น เต
บันเทิง ในภาษาธรรมหมายถึงความอิ่มใจ ความดื่มด่ำใจในธรรมที่เรียกว่า ธรรมปีติ
*  โพชฌังคปริตร อ่านว่า โพด-ชัง-คะ-ปะ-ริด
โสตถิ อ่านว่า โสด-ถิ  แปลว่า ความสวัสดี
เอกัส๎มิง อ่านว่า เอ-กัด-สะ-หมิง แปลว่า หนึ่ง
โลกนาถ อ่านว่า โลก-กะ-นาด แปลว่า ผู้เป็นที่พึ่งของโลก
ทิส๎วา อ่านว่า ทิด-สะหวา แปลว่า เห็น
อะภินันทิต๎วา อ่านว่า อะ-พิ-นัน-ทิด-ตะวา แปลว่า ยินดี
พระธรรมราชา อ่านว่า พระ-ทำ-มะ-รา-ชา แปลว่า ราชาแห่งธรรม  หมายถึงพระพุทธเจ้า
เคลัญเญนาภิปีฬิโต อ่านว่า เค-ลัน-เย-นา-พิ-ปี-ลิ-โต  หมายถึงถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียน หมายถึงถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียน
ภะนาเปต๎วานะ อ่านว่า พะ-นา-เปด-ตะวา-นะ แปลว่า กล่าว,สวด
สัมโมทิต๎วา อ่านว่า สัม-โม-ทิด-ตะวา แปลว่า รื่นเริงใจ, บันเทิงใจ
ปะหีนา อ่านว่า ปะ-ฮี-นา แปลว่า ละได้แล้ว
มหาฤษี อ่านว่า มะ-หา-รึ-สี แปลว่า ผู้แสวงหาคุณความดีอันยิ่งใหญ่ ผู้ถือบวช, ในบทสวดนี้หมายถึงพระพุทธเจ้า  พระมหาโมคคัลลานะ  และพระมหากัสสปะ

 
8. สัพพมงคลคาถา

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ                                        สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ                                        สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ                                        สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.

ขอมงคลทั้งปวงจงมี  ขอเทวดาทั้งปวงจงคุ้มครอง  ด้วยอานุภาพของพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ขอความสวัสดี  จงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ.