Tuesday, October 2, 2012

โพชฌังคปริตร (ตอนที่ 2) - บทสวด 1-6 พร้อมคำแปล


1.  บทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า  เป็นพระอรหันต์,
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;

พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ.   
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, 
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.  (กราบ)

ส๎วากขาโต  ภะคะวะตา ธัมโม,  
พระธรรม  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,  ตรัสไว้ดีแล้ว;

ธัมมัง นะมัสสามิ. 
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,  ปฎิบัติดีแล้ว;

สังฆัง  นะมามิ. 
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)

 

พยัญชนะที่มีเครื่องหมายยามักการ ( ๎) ให้อ่านออกเสียง อะ กึ่งมาตรา (อ่านออกเสียง อะ ครึ่งเสียง ควบกับพยัญชนะหลัง และว่าเร็วขึ้น) ทุกแห่ง เช่น ส๎วากขาโต อ่านว่า สะหวาก-ขา-โต

 
2. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า

(สวด 3 จบ)

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต, 
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์นั้น;

อะระหะโต,   
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส;

สัมมาสัมพุทธัสสะ.    
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

 
3. บทไตรสรณคมน์

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์  เป็นที่พึ่งตราบถึงพระนิพพาน;

ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
แม้ครั้งที่ 2  ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบถึงพระนิพพาน;

ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ตราบถึงพระนิพพาน.
 

4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ

อิติปิ โส  ภะคะวา, 
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น;

อะระหัง, 
เป็นผู้ไกลจากกิเลส;

สัมมาสัมพุทโธ, 
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;

วิชชาจะระณะสัมปันโน, 
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ;

สุคะโต, 
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี;

โลกะวิทู, 
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง;

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, 
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้  อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า;

สัตถา เทวะมะนุสสานัง, 
เป็นครูผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย;

พุทโธ, 
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม;

ภะคะวาติ, 
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์.
 
5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 
พระธรรม  เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสไว้ดีแล้ว;

สันทิฏฐิโก, 
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง;

อะกาลิโก, 
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

เอหิปัสสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า  ท่านจงมาดูเถิด;

โอปะนะยิโก, 
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. 
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน.
 

วิญญูหีติ อ่านว่า วิน-ยู-ฮี-ติ แปลว่า ผู้รู้

 
6. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,  
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว;

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,  
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว;

ญายะปฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด,   ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว;

สามีจิะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,  
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว;

ยะทิทัง,  
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-

จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,  
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่  นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ;

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,  
นั้นแหละ  สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า;

อาหุเนยโย*,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา;

ปาหุเนยโย*,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ;

ทักขิเณยโย*,  
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน;

อัญชลีกะระณีโย,  
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี;

อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.  
เป็นเนื้อบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
 

* อ่านว่า ไน-โย

No comments:

Post a Comment