Tuesday, October 2, 2012

โพชฌังคปริตร (ตอนที่ 3) - บทสวด 7-8 พร้อมคำแปล




7. โพชฌังคปริตร*

    โพชฌังโค สะติสังขาโต,
โพชฌงค์   กล่าว คือ สติ;
ธัมมานัง วิจะโย ตะถา,
ธัมมวิจยะ;
วิริยัมปีติปัสสัทธิ-
วิริยะ ปีติ ปัสสิทธิ;
โพชฌังคา  จะ ตะถาปะเร,
และโพชฌงค์อื่นอีก ๒:-
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา,
คือสมาธิและอุเบกขา;
สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา,
ธรรม ๗ ประการนี้ อันพระมุนี ทรงเห็นทั่ว ตรัสไว้ชอบแล้ว;
ภาวิตา พะหุลีกะตา,
ทรงบำเพ็ญ กระทำให้มากแล้ว;
สังวัตตันติ อภิญญายะ,
ย่อมเป็นไป เพื่ออภิญญา;
นิพพานายะ จะ โพธิยา,
เพื่อพระนิพพาน  และโพธิญาณ;
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ* เม โหตุสัพพะทา.
ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.
    เอกัส๎มิง* สะมะเย นาโถ,
สมัยหนึ่ง พระโลกนาถ*;
โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิตา ทิส๎วา*,
ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระกัสสปะ อาพาธ เป็นทุกข์;
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ,
จึงแสดงโพชฌงค์ ๗ ให้ฟัง;
เต จะ ตัง อะภินันทิต๎วา*,
พระเถระทั้ง ๒ ยินดีพุทธภาษิตนั้น;
โรคา มุจจิงสุง ตังขะเณ,
โรคทั้งหลาย ก็สงบ ในขณะนั้น;
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.
ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.
    เอกะทา ธัมมะราชาปิ,
คราวหนึ่ง องค์พระธรรมราชา* เอง;
เคลัญเญนาภิปีฬิโต*,
ทรงพระประชวรไข้;
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปต๎วานะ* สาทะรัง,
รับสั่งให้พระจุนทเถระกล่าวโพชฌงค์ ๗ นั้นถวายโดยเคารพ;
สัมโมทิต๎วา* จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส,
ทรงบันเทิง  พระหฤทัย  หายจากพระประชวร  โดยจริงแท้;
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.
ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.
    ปะหีนา* เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง,
ก็ อาพาธเหล่านั้น อันมหาฤษี* ทั้ง ๓ ละได้แล้ว ไม่กลับเป็นอีก;
มัคคาหะตะกิเลสา วะ,
ดุจกิเลสที่อริยมรรคกำจัดแล้ว;
ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง,
ถึงความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา;
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.
ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.

 

เม คือสวดให้ตนเอง  ถ้าสวดให้คนอื่นฟังเปลี่ยนเป็น เต
บันเทิง ในภาษาธรรมหมายถึงความอิ่มใจ ความดื่มด่ำใจในธรรมที่เรียกว่า ธรรมปีติ
*  โพชฌังคปริตร อ่านว่า โพด-ชัง-คะ-ปะ-ริด
โสตถิ อ่านว่า โสด-ถิ  แปลว่า ความสวัสดี
เอกัส๎มิง อ่านว่า เอ-กัด-สะ-หมิง แปลว่า หนึ่ง
โลกนาถ อ่านว่า โลก-กะ-นาด แปลว่า ผู้เป็นที่พึ่งของโลก
ทิส๎วา อ่านว่า ทิด-สะหวา แปลว่า เห็น
อะภินันทิต๎วา อ่านว่า อะ-พิ-นัน-ทิด-ตะวา แปลว่า ยินดี
พระธรรมราชา อ่านว่า พระ-ทำ-มะ-รา-ชา แปลว่า ราชาแห่งธรรม  หมายถึงพระพุทธเจ้า
เคลัญเญนาภิปีฬิโต อ่านว่า เค-ลัน-เย-นา-พิ-ปี-ลิ-โต  หมายถึงถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียน หมายถึงถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียน
ภะนาเปต๎วานะ อ่านว่า พะ-นา-เปด-ตะวา-นะ แปลว่า กล่าว,สวด
สัมโมทิต๎วา อ่านว่า สัม-โม-ทิด-ตะวา แปลว่า รื่นเริงใจ, บันเทิงใจ
ปะหีนา อ่านว่า ปะ-ฮี-นา แปลว่า ละได้แล้ว
มหาฤษี อ่านว่า มะ-หา-รึ-สี แปลว่า ผู้แสวงหาคุณความดีอันยิ่งใหญ่ ผู้ถือบวช, ในบทสวดนี้หมายถึงพระพุทธเจ้า  พระมหาโมคคัลลานะ  และพระมหากัสสปะ

 
8. สัพพมงคลคาถา

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ                                        สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ                                        สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ                                        สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.

ขอมงคลทั้งปวงจงมี  ขอเทวดาทั้งปวงจงคุ้มครอง  ด้วยอานุภาพของพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ขอความสวัสดี  จงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ.

No comments:

Post a Comment