Tuesday, October 2, 2012

โพชฌังคปริตร (ตอนที่ 5) - บทสวด 1-13 (ไม่มีคำแปล)


1.  บทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา, พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ.   (กราบ)
ส๎วากขาโต  ภะคะวะตา ธัมโม,  ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง  นะมามิ. (กราบ)
 
พยัญชนะที่มีเครื่องหมายยามักการ ( ๎) ให้อ่านออกเสียง อะ กึ่งมาตรา (อ่านออกเสียง อะ ครึ่งเสียง ควบกับพยัญชนะหลัง และว่าเร็วขึ้น) ทุกแห่ง เช่น ส๎วากขาโต อ่านว่า สะหวาก-ขา-โต

2. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า

(สวด 3 จบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ.    

3. บทไตรสรณคมน์

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,

ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,  

ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.  

4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ

อิติปิ โส  ภะคะวา, อะระหัง, สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต, โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,  สัตถา เทวะมะนุสสานัง,  พุทโธ,  ภะคะวาติ. 
 
5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก,  ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. 
 
วิญญูหีติ อ่านว่า วิน-ยู-ฮี-ติ แปลว่า ผู้รู้

6. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง, จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,  เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย* ปาหุเนยโย*, ทักขิเณยโย*, อัญชลีกะระณีโย,  อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. 
 
* อ่านว่า ไน-โย

7. โพชฌังคปริตร*

โพชฌังโค สะติสังขาโต, ธัมมานัง วิจะโย ตะถา,
วิริยัมปีติปัสสัทธิ-  โพชฌังคา  จะ ตะถาปะเร,
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา,
สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา,
ภาวิตา พะหุลีกะตา,
สังวัตตันติ อภิญญายะ,
นิพพานายะ จะ โพธิยา, 

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
โสตถิ* เม โหตุสัพพะทา.

เอกัส๎มิง* สะมะเย นาโถ,
โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิตา ทิส๎วา*,
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ,
เต จะ ตัง อะภินันทิต๎วา*,
โรคา มุจจิงสุง ตังขะเณ, 

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา. 

เอกะทา ธัมมะราชาปิ,
เคลัญเญนาภิปีฬิโต*,
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปต๎วานะ* สาทะรัง,
สัมโมทิต๎วา* จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส, 

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา. 

ปะหีนา* เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง,
มัคคาหะตะกิเลสา วะ,
ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง, 

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,
โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.
 
เม คือสวดให้ตนเอง  ถ้าสวดให้คนอื่นฟังเปลี่ยนเป็น เต
บันเทิง ในภาษาธรรมหมายถึงความอิ่มใจ ความดื่มด่ำใจในธรรมที่เรียกว่า ธรรมปีติ
*  โพชฌังคปริตร อ่านว่า โพด-ชัง-คะ-ปะ-ริด
โสตถิ อ่านว่า โสด-ถิ  แปลว่า ความสวัสดี
เอกัส๎มิง อ่านว่า เอ-กัด-สะ-หมิง แปลว่า หนึ่ง
โลกนาถ อ่านว่า โลก-กะ-นาด แปลว่า ผู้เป็นที่พึ่งของโลก
ทิส๎วา อ่านว่า ทิด-สะหวา แปลว่า เห็น
อะภินันทิต๎วา อ่านว่า อะ-พิ-นัน-ทิด-ตะวา แปลว่า ยินดี
พระธรรมราชา อ่านว่า พระ-ทำ-มะ-รา-ชา แปลว่า ราชาแห่งธรรม  หมายถึงพระพุทธเจ้า
เคลัญเญนาภิปีฬิโต อ่านว่า เค-ลัน-เย-นา-พิ-ปี-ลิ-โต  หมายถึงถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียน หมายถึงถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียน
ภะนาเปต๎วานะ อ่านว่า พะ-นา-เปด-ตะวา-นะ แปลว่า กล่าว,สวด
สัมโมทิต๎วา อ่านว่า สัม-โม-ทิด-ตะวา แปลว่า รื่นเริงใจ, บันเทิงใจ
ปะหีนา อ่านว่า ปะ-ฮี-นา แปลว่า ละได้แล้ว
มหาฤษี อ่านว่า มะ-หา-รึ-สี แปลว่า ผู้แสวงหาคุณความดีอันยิ่งใหญ่ ผู้ถือบวช, ในบทสวดนี้หมายถึงพระพุทธเจ้า  พระมหาโมคคัลลานะ  และพระมหากัสสปะ

 
8. สัพพมงคลคาถา

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ                                        สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ                                        สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง                             รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ                                        สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.

 
9. ทำสมาธิ

          หลังการสวดมนต์  ควรนั่งสมาธิสัก 10 นาที  เป็นอย่างน้อย  เพื่อให้จิตใจปลอดโปร่งสบาย  ร่างกายเรายังต้องอาบน้ำทำความสะอาดทุกวัน จิตใจก็เช่นกัน  ต้องชำระล้างด้วยการปล่อยวางความคิดต่างๆ ให้หมดไปจากใจ

          วิธีทำสมาธิแบบง่ายๆ คือ นั่งกับพื้นหรือบนเก้าอี้  วางมือวางเท้าอย่างไรก็ได้  ให้อยู่ในท่าพอดีไม่ฝืนร่างกายจนถึงกับเกร็ง  อย่าให้หลังโค้งงอ  เมื่อปรับร่างกายเข้าที่แล้วให้หลับตาลงเบาๆ  สบายๆ  คล้ายๆ กับกำลังพักผ่อน  ไม่บีบเปลือกตาจนแน่น  จากนั้นเอาจิตมากำหนดที่ปลายจมูก (ที่อื่นตามที่ท่านรู้มาก็ได้)  หายใจเข้าบริกรรมว่า  พุท  หายใจออกบริกรรมว่า  โธ  ให้จิตแนบแน่นอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก   หรืออยู่กับคำบริกรรมว่า พุท-โธ  ให้กำหนดเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะสงบนิ่งเป็นสมาธิก็ไม่ต้องบริกรรมอีก  แต่ขณะใดจิตฟุ้งซ่านรีบใช้สติดึงจิตกลับมาที่คำบริกรรมเพื่อให้จิตมีที่ยึดเหนี่ยวอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน

 
แผ่เมตตา หลังจากสวดมนต์ นั่งสมาธิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เชื่อมั่นว่าพลังใจของท่านย่อมเต็มเปี่ยมด้วยบุญ เพราะได้บำเพ็ญบุญตามหลักของไตรสิกขาครบถ้วน 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านสอนว่า ขณะที่จิตของท่านเป็นสมาธิ และแผ่เมตตาออกไปนั้น บุญกุศลที่ได้เท่ากับสร้างโบสถ์ทั้งหลัง"

 
10. บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง

อะหัง สุขิโต  โหมิ,
นิททุกโข โหมิ,  
อะเวโร โหมิ, 
อัพ๎ยาปัชโฌ โหมิ,
อะนีโฆ โหมิ, 
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ.
 
อ่านว่า อับ-พะยา-ปัด-โช (พะยา ออกเสียงสระอะ ตรงคำว่า พะ เร็ว ๆ ออกครึ่งเสียง

11. บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา,
อะเวโร โหนตุ,
อัพ๎ยาปัชโฌ โหนตุ,
อะนีฆา โหนตุ, 
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ. 
12. บทแผ่ส่วนกุศล

          การแผ่กุศล  เป็นการอุทิศความดีที่เราทำแล้วให้ผู้อื่นมีมารดาบิดา เป็นต้น  เรื่อยมาตามลำดับ  ทำให้เราได้บุญมากขึ้น  ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า  ปัตติทานมัย  บุญที่เกิดจากการอุทิศบุญของตนให้ผู้อื่นนั่นเอง
 

อิทัง  เม มาตาปิตูนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร,
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ ญาตะโย,
อิทัง เม คะรุปัชฌายาจะริยานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ คะรุปัชฌายาจะริยา, 
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา,    
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา,
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี,
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา.
 

อธิษฐานจิตเพิ่มบุญบารมี

          เมื่อแผ่เมตตาจิตจบแล้ว  พึงอธิษฐานจิตนึกคิดปรารถนาแต่สิ่งดีงาม  คำว่า อธิษฐาน  โดยทั่วไปหลายถึง  การตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, การนึกปรารถนาส่งที่ต้องการจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์  แต่ในทางธรรมหมายถึง  ความตั้งใจมั่นคงตัดสินใจแน่นอนที่จะทำความดี  ดังที่ หลวงพ่อพุทธทาส กล่าวไว้ว่า

          "...ตอนที่กล่าวอธิษฐานจิตของตัวเอง  คือตั้งความปรารถนาของตัวเองว่า ขอให้เป็นอย่างนั้น  ขอให้เป็นอย่างนี้  รวมใจความสำคัญอยู่ที่ว่า  ขอให้สิ้นกิเลสอาสวะในที่สุด  นี้เป็นเรื่องดี  คือไม่รู้จักลืมวัตถุประสงค์มุ่งหมาย...

         บทอธิษฐานจิตนั้น  ตั้งความปรารถนาอันสูงไว้เป็นเบื้องหน้า  แล้วก็ย้อมจิตให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ อยู่เสมอแล้ว  แน่นอนทีเดียว   ไม่ต้องมีใครมารับประกันก็รับประกันตัวเองได้ว่า  ความเป็นไปในชีวิตของเราผู้เป็นสาวกของพระพุทธองค์นั้น จักเดินไปอย่างถูกทางอย่างรวดเร็วที่สุด"

 
13. บทอธิษฐานจิต

"ระตะนัตตะยานุภาเวนะ  ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัย  ขอให้ทุกข์  โศก  โรค ภัย  ศัตรู  อุปสรรคอันตรายทั้งปวงของข้าพเจ้าจงพินาศไป  ขอให้ความชนะ  ความสำเร็จ  ทรัพย์และลาภ  ความสวัสดี  ความมีโชค  ความสุข  ความมีกำลัง  สิริ  อายุ  วรรณะ  โภคสมบัติ  ธรรมสารสมบัติ  และความสำเร็จกิจในความเป็นอยู่  จงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้า  หากข้าพเจ้ายังไม่ถึงซึ่งนิพพาน  ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร  ขอให้ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ไปเกิดในตระกูลที่ดีเป็นสัมมาทิฏฐิ  เป็นผู้มีธรรมบริสุทธิ์  ตราบเท่าถึงพระนิพพาน เทอญ  นิพพานะปัจจะโย  โหตุ"

No comments:

Post a Comment